เปิดเส้นทาง ‘ข้าวหอมมะลิ’ ที่มีผู้สรรสร้าง กับชะตากรรมของข้าวไทยกว่า 20,000 พันธุ์ที่หล่นหายกลางทาง

บทนำ

คนไทยกิน ‘ข้าว’ ในหลายมื้อแทบทุก ๆ วัน แต่เราเคยตั้งคำถามกับสิ่งที่อยู่บนจานมากน้อยแค่ไหนกัน?

ในความรับรู้เรื่องข้าวของผู้คนส่วนใหญ่มักรู้จักมักคุ้นข้าวจากบรรดาข้าวสารบรรจุถุง ตามท้องตลาดเพียงไม่กี่ยี่ห้อ อย่างข้าวเสาไห้ หุ่งขึ้นหม้อ สัมผัสร่วน ไม่เกาะกันเป็นก้อน ข้าวหอมปทุมฯ ที่พัฒนาสายพันธุ์จาก ศูนย์วิจัยข้าวให้ปลูกได้ทั้งปี มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ


ข้าวหอมมะลิ
 (Jasmine rice) หรือมีชื่อเรียก ทางการว่าขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ ที่มีกลิ่นที่หอมคล้ายใบเตยเมล็ดเรียวยาว สัมผัสเหนียวนุ่ม ยืนหนึ่งในใจของคนไทยหลายคน และดังไกลไประดับโลกจากการคว้ารางวัลพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดของโลกหลายสมัย จนกลายเป็นภาพจำของ ‘ข้าวไทย’ ที่ยืนอยู่อย่างโดดเด่นท่ามกลางสายพันธุ์ข้าวในประเทศไทยกว่า 20,000 สายพันธ์ุที่เริ่มโดดเดี่ยวสูญหายไปจากสังคมไทย

เราจึงอยากชวนย้อนรอยมองอดีตถึงที่มาที่ไปของ ‘ข้าวหอมมะลิ’ จากการผลักดันส่งเสริมทั้งรัฐไทยและต่างประเทศจนกลายเป็นข้าวที่ครองลิ้นคนไทยในทุกวันนี้

แล้วขีดเส้นใต้  ‘เส้นหนาๆ’ ว่าทำไมข้าวไทย ถึงมีแค่หอมมะลิ ไม่ได้

หอมมะลิ 101 🔎
101rice

ย้อนดูเส้นทางข้าวไทย กว่า ‘หอมมะลิ’ จะครองลิ้นไทย

7000 ปีก่อน
ข้าวเมล็ดแรก

ข้าวป่าที่เก่าแก่สุดในโลก ค้นพบเมล็ดข้าวป่าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ณ ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน

4000 ปีก่อน
เกิดการเพาะปลูกข้าว

ค้นพบเครื่องมือโลหะ แกลบข้าวในภาชนะดินเผา และภาพเขียนสีผนัง ณ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.นครราชสีมา

พ.ศ. 2450
งานประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรกของไทย

ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานประกวดพันธุ์ข้าวที่เมืองธัญญบุรี เพื่อค้นหาข้าวพันธุ์ดีมาใช้ทำเมล็ดพันธุ์

พ.ศ. 2459
ก่อตั้งสถานีทดลองข้าวคลองรังสิต

ก่อตั้งสถานีทดลองข้าวแห่งแรกของไทย (ปัจจุบันคือศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี) ที่มีหน้าที่วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2476
'ข้าวปิ่นแก้ว’ ชนะเลิศงานประกวดข้าวโลก

งานประกวดข้าวโลก (World Grain Exhibition & Conference) ที่ประเทศแคนาดา ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วคว้ารางวัลชนะเลิศ จาก 176 สายพันธุ์ข้าวที่ทั่วโลกส่งเข้าประกวด 

พ.ศ. 2493
ปฏิวัติเขียว

ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชจากสหรัฐฯ ถูกส่งมาเข้าร่วมวิจัยข้าวในประเทศไทย และอบรมให้ความรู้กับบุคลากรของไทย

พ.ศ. 2496
ก่อตั้งกรมการข้าว

ยกระดับจากแผนก ‘กองการข้าว’ ยกระดับขึ้นสู่ ‘กรมการข้าว’ 

พ.ศ. 2498
จุดกำเนิดหอมมะลิ

สุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงานข้าว สังกัดกองข้าว กรมกสิกรรม ผู้ซึ่งได้รับการอบรมกับผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ เก็บตัวอย่างพันธุ์ข้าว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จนนำมาซึ่งการรับรองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวดอกมะ

พ.ศ. 2503
กำเนิดสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI)

รัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อวิจัยและพัฒนาผลผลิตข้าวทั่วโลก ร่วมมือกับกรมการข้าวไทยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และพัฒนาบุคลากรนักวิจัยข้าวไทย

พ.ศ. 2522
หอมมะลิไทย โกอินเตอร์

ประเทศไทยไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปขายในตลาดโลกได้เป็นครั้งแรก โดยมีคู่ค้าคนสำคัญคือ อเมริกา, จีน, ยุโรป, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์ เป็นต้น

พ.ศ. 2530
จากทุ่งกุลา สู่เมืองหลวงข้าวหอมมะลิ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (ผบ.ทบ.สมัยนั้น) ผลักดันโครงการ 'อีสานเขียว' ตามพระราชดำริชองในหลวง เพื่อปรับปรุงพื้นที่บริเวณวันออกเฉียงเหนือ โดยทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีพื้นที่ 1.76 ล้านไร่ คลอบคลุมมากถึง 5 จังหวัดก็ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกข้าวดอกมะลิ 105 ด้วย

พ.ศ. 2552
หอมมะลิคว้ามแชมป์

ข้าวหอมมะลิไทย (Thai jasmine rice) คว้าแชมป์ข้าวรสชาติที่ดีที่สุดในโลก หรือ World’s Best Rice Award เป็นครั้งแรก

สัดส่วนการปลูกข้าวในประเทศไทย 🌾

เนื้อที่เพาะปลูก ข้าวหอมมะลิ’
คิดเป็น

ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมดของไทย

0 %

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ผลกระทบ...เมื่อวงการข้าวไทยมีแต่หอมมะลิ

ด้านวัฒนธรรม

สายพันธุ์
0

กรมการข้าวรับรอง

สายพันธุ์
20000

ในประเทศไทยมีข้าวทั้งหมด

สายพันธุ์
0

ข้าวถุงตามท้องตลาดมีเพียง

*หมายเหตุ : ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
และการสำรวจข้าวบนชั้นวางในห้างสรรพสินค้า


คุณลักษณะ
: สัมผัสเนื้อแน่น หนึบนิดๆ รสหอมกลมกล่อม
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย หรือข้าวต้ม เหมาะกับทานอาหารประเภทคั่ว ทอด ย่าง
Origin :อำนาจเจริญ


คุณลักษณะ
: สัมผัสกรอบนอก นุ่มใน กลิ่นหอมคลายข้าวโพดต้ม
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย หรือข้าวต้ม เหมาะกับทานอาหารประเภทผัดรสจัด
Origin :สุรินทร์


คุณลักษณะ
: สัมผัสร่วน ไม่หนึบจับเป็นก้อน เมื่อหุงแล้วเมล็ดจะยาวขึ้น 3 เท่าตัว
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย กินกับอาหารประเภทแกง หรือทำเป็นข้าวผัดแล้วข้าวไม่เละ
Origin :สุพรรณบุรี


คุณลักษณะ
: สัมผัสหนึบหนับคล้ายข้าวญี่ปุ่น เปลือกไม่แข็งกระด้าง กรอบนอกนุ่มใน รสชาติหอมหญ้าอ่อนๆ และมีกากใยสูงช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย หรือข้าวต้ม เหมาะกับอาหารคั่ว ทอด ย่าง
Origin :สกลนคร


คุณลักษณะ
: สัมผัสหนึบหนับคล้ายข้าวญี่ปุ่น เปลือกไม่แข็งกระด้าง กรอบนอกนุ่มใน รสชาติหอมหญ้าอ่อนๆ และมีกากใยสูงช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย เหมาะกับอาหารประเภทน้ำแกงข้น หรือจะใช้แทนข้าวญี่ปุ่นก็เข้ากัน
Origin :สกลนคร


คุณลักษณะ 
: เคี้ยวเพลินเหนียวหนึบหนับ รสสัมผัสคล้ายการกินข้าวโพดข้าวเหนียว กินน้อยแต่อิ่มนาน ด้วยค่าดัชนีนำตาลต่ำ เหมาะกับคนรักสุขภาพ 
จับคู่อาหาร : หุงเป็นข้าวสวย หรือข้าวต้ม เหมาะกับอาหารคั่ว ทอด ย่าง
Origin :ยโสธร, อำนาจเจริญ

Q&A : ทำไม..คนไทยกินแต่ข้าวหอมมะลิ?

A1 : ข้าวหอมมะลิ ตอบโจทย์การทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ที่ปลูกข้าวเป็นแปลงขนาดใหญ่ง่ายต่อการดูแลกว่า การปลูก ‘ข้าวพื้นเมือง’ ที่อาศัยการดูแลต่างกันในแต่ละสายพันธุ์

A2 : คนไทยมีภาพจำ ข้าวในอุดมคติ คือหอมมะลิไปแล้ว ก็รสชาติมันอร่อยดีอยู่แล้ว แล้วจะไปเปลี่ยนมันทำไม

กับข้าวมันก็คงจะมีสีสันมากกว่าตัวข้าว...ต่างจากวัฒนธรรมการกินของมุสลิม เปอร์เซีย วัฒนธรรมการกินข้าวที่ซับซ้อนอย่างมาก เช่น ข้าวบริยานี ข้าววอคเคอรี มันมีกรรมวิธีการปรุงข้าวกับเครื่องเทศต่างๆ อย่างพิถีพิถัน
กฤช เหลือลมัย
นักโบราณคดี คอลัมนิสต์ด้านอาหารไทย
อ่านต่อได้ที่

ข้าวไทยทำไมกินกันอยู่ไม่กี่พันธุ์? คุยกับกฤช เหลือลมัย ว่าด้วยวัฒนธรรมการกินข้าวของคนไทยที่หล่นหาย

คงจะเป็นคำกล่าวไม่เกินจริงไปนักว่า ข้าวคืออาหารประจำชาติที่คนไทยทุกคนต้องกินมันอยู่ในทุกๆ วัน...

ด้านเศรษฐกิจ

      ข้าวหอมมะลิ หรือขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวนิยมปลูกทางภาคอีสาน แม้จะเป็นพันธุ์ที่หอมอร่อย ตรงกับความต้องการของตลาด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคและแมลง อย่างโรคไหม้จากเชื้อรา ที่ชาวนาต้องสูญเสียต้นข้าวจากโรคนี้ไปมากถึง 5-10% ของผลผลิตทั้งหมด และยากต่อการต้านทาน เนื่องจากเชื้อโรคสามารถพัฒนาตัวเองได้เอง

      จากรายงานของสถาบันวิจัยสังคม ม.ขอนแก่นพบว่าสภาวะโลกร้อนสร้างผลกระทบกับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจน โดยส่งผลให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิลดลงกว่า 45% จากปัญหาความไม่แน่นอนของน้ำฝนในพื้นที่ดังกล่าว ที่ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมสลับกับสภาพความแล้งปั่นป่วนตลอดทั้งปี

Ubon2

อ่านต่อได้ที่

ปลูก ‘ตามใจคน’ มากกว่า ‘ตามใจนา’ : ว่าด้วยปัญหาข้าวไทยทำไมต้องไปไกลกว่าแค่หอมมะลิ กับอุบล อยู่หว้า

ปลูก ‘ตามใจคน’ มากกว่า ‘ตามใจนา’ ว่าด้วยปัญหาข้าวไทย ทำไมต้องไปไกลกว่าแค่หอมมะลิ กับอุบล อยู่หว้า  ...
ในแง่นิเวศเกษตรของบ้านเรา มันมีความอ่อนไหวและความเปราะบางสูงมาก เพราะพื้นที่ปลูกข้าว 80% เต็มไปด้วยข้าวพันธุ์หอมมะลิ หรือเป็นข้าวสายพันธุ์ลูกของหอมมะลิอีกทีหนึ่งเท่านั้น
อุบล อยู่หว้า
เครือข่ายเกษตรกรทางเลือก ภาคอีสาน

ด้านสิ่งแวดล้อม

ของคาร์บอนฟูตปริ้นท์รวม

0 %

อยู่ในขั้นตอนการปลูกเนื่องจาก การปลูก ‘ข้าวหอมมะลิ’ ในระบบนาน้ำขังมีเศษทรากพืชจำนวนมากถูกย่อยสลายภายในน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดเป็น ‘ก๊าซมีเทน’ ซึ่งมีความรุนแรงกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ถึงกว่า 34 เท่า

แนวทางแก้ไข

เปลี่ยนระบบการจัดการน้ำ
ด้วยการผันน้ำไม่ท่วมขังต่อเนื่อง หรือเรียกว่า ‘การทำนาเปียกสลับนาแห้ง’ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้กว่า 50% และการจัดการฟางและซังข้าวอย่างถูกวิธี

ส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง อย่าง ‘ข้าวเบา’ ที่อายุสั้น เก็บเกี่ยวไว หรือ ‘ข้าวไร่’ ที่ไม่ต้องอาศัยการปลูกแบบนาน้ำท่วมขัง  

ที่มา : TCNN